วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย

                                    วิชา           ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย        
                 1. กฎหมายคืออะไร    คำนี้เมื่อก่อนผมเองก็เคยตั้งคำถามเหมือนกันว่าแท้จริงแล้วมันคืออะไรกันแน่  ตอนเด็กก็เข้าใจว่ากฎหมายคือ  คำสั่งหรือข้อบังคับ  ซึ่งมันยังไม่ใช่เสียทีเดียวหรอก  ก่อนจะทำความเข้าใจกับกฎหมาย   เราต้องรู้เสียก่อนว่า กฎคืออะไร   อะไรคือกฎ ซึ่งกฎนั้นคือสิ่งที่คนในกลุ่ม  หรือผู้มีอำนาจในกลุ่มได้กำหนดขึ้น  เพื่อทำให้คนในกลุ่มนั้น ปฏิบัติตาม   หากฝ่าฝืนก็จะมีความผิด หรือ มีบทลงโทษประการใดก็ขึ้นอยู่กับข้อตกลงในกลุ่ม  กฎหมาย ก็เช่นเดียวกัน   แต่กฎหมายนั้นมีคำนิยามได้หลายรูปแบบครับ   แต่ในความเห็นของผม ผมคิดว่ากฎหมายคือคำสั่งหรือข้อบังซึ่งเกิดจากผู้มีอำนาจได้ตราขึ้น  เพื่อบังคับให้คนในสังคมหรือรัฐนั้นต้องปฏิบัติตาม   กฎหมายไม่จำเป็นที่จะต้องถูกต้องเสมอไป   บางครั้งกฎหมายอาจไม่ทำให้เกิดความเป็นธรรมได้   นั่นก็ขึ้นอยู่กับผู้มีอำนาจในการตรากฎหมาย   จำเป็นหรือไม่ที่กฎหมายต้องเกิดจากข้อบังคับทางศิลธรรม   หรือบรรทัดฐานในสังคม   ในความเห็นของผม ผมเห็นว่ากฎหมายกับศีลธรรมเป็นคนละเรื่องกัน   จริงอยู่ที่กฎหมายบางอย่างอ้างอิงศีลธรรมแต่ก็ไม่เสมอไป  เช่นศาสนาพุทธสอนไว้ว่าห้ามดื่มสุรา   กฎหมายนั้นถ้ากำหนดเช่นนี้ก็ทำได้แต่ว่าจะกระทบถึงสิทธิของผู้คนมากเกินไป  เมื่อคนในสังคมเห็นว่ากฎหมายนั้นไม่เป็นธรรมก็จะเกิดการต่อต้านไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมเหล่านั้น   ซึ่งเรียกว่าการดื้อแพ่งกฎหมายคืออะไรเป็นปัญหาที่ได้รับการถกเถียงกันมาตั้งแต่โบราณจวบจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่เป็นที่ยุติ ทั้งนี้เพราะการให้ความหมายของคำว่า"กฎหมายแตกต่างไปตามแต่ว่าผู้ให้ความหมายนั้นมีแนวความคิดทางกฎหมายอย่างไร แต่ไม่ว่าสำนักความคิดใดหรือนักกฎหมายใดจะให้ความหมายของกฎหมายเป็นอย่างไรก็ตาม ก็เป็นที่ยอมรับตรงกันว่า กฎหมายสามารถจำแนกลักษณะได้ 4 ประการ"            
1. กฎหมายต้องมีลักษณะเป็นเกณฑ์   กฎหมายต้องมีลักษณะเป็นกฎเกณฑ์ ที่ว่าต้องเป็น "กฎเกณฑ์" (NORM) นั้นหมายความว่ากฎหมายต้องเป็นข้อบังคับที่เป็นมาตรฐาน (STANDARD) ที่ใช้วัดและใช้กำหนดความประพฤติของสมาชิกของสังคมได้ว่าถูกหรือผิด ให้กระทำการได้หรือห้ามกระทำการ ในกรณีให้กระทำการ เช่นผู้มีเงินได้ต้องเสียภาษีให้รัฐบาล หรือชายที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ต้องไปรับการเกณฑ์ทหาร
ในกรณีที่ห้ามมิให้กระทำการ เช่น ห้ามทำร้ายผู้อื่นหรือเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยเขาไม่อนุญาต ซึ่งหากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ถือเป็นสิ่งที่ผิดและจะถูกลงโทษ  ดังนั้น สิ่งใดที่ไม่มีลักษณะเป็นกฎเกณฑ์ที่เป็นข้อบังคับมาตรฐานความประพฤติของมนุษย์ในสังคม สิ่งนั้นก็ไม่ใช่กฎหมาย ตัวอย่างเช่น ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลได้ประกาศเชิญชวนคนไทยให้สวมหมวกและให้นุ่งผ้าซิ่นแทนผ้าโจงกระเบน ประกาศนี้แจ้งให้ประชนทราบว่ารัฐบาลนิยมให้ประชาชนปฏิบัติอย่างไร มิใช่บังคับ หรือ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเชิญชวนคนไทยปลูกต้นไม้เนื่องในโอกาสพิเศษ หรือคำเชิญชวนของนายกรัฐมนตรีที่ขอให้คนไทยช่วยกันประหยัด เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ข้อกำหนดที่มีลักษณะบ่งบอกว่าสิ่งใดผิดสิ่งใดถูกจึงไม่ใช่กฎหมาย          
2. กฎหมายต้องกำหนดความประพฤติของบุคคล      กฎหมายต้องกำหนดถึงความประพฤติของบุคคล ความประพฤติ(BEHAVIOR) ในที่นี้ได้แก่การเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกายภายใต้การควบคุมของจิตใจ รวมไปถึงกระทำการหรืองดเว้นกระทำอย่างใดที่ต้องอาศัยร่างกายเคลื่อนไหว   ตัวอย่างเช่น นายดำ อยากให้นายแดงตายจึงใช้ปืนยิงนายแดงโดยรู้อยู่ว่าการยิงนายแดงเช่นนี้ จะทำให้นายแดงตาย เราเรียกการกระทำนี้ว่านายดำมีเจตนาฆ่านายแดงการที่นาย ดำยกปืนยิงนายแดงเป็นการเคลื่อนไหวร่างกายภายใต้การบังคับของจิตใจ แต่นายฟ้าเดินอยู่ เกิดเป็นโรคลมบ้าหมู เกิดอาการชักกระตุกของฝ่ามือ ฟาดไปโดนหน้านายเหลือง แม้มีการเคลื่อนไหวร่างกาย แต่เป็นการเคลื่อนไหวนอกเหนือการควบคุมของจิตใจ ฉะนั้น กรณีนี้กฎหมายจึงไม่เข้ามาควบคุมการเคลื่อนไหวเช่นนี้ เมื่อกฎหมายต้องกำหนดถึงความประพฤติของมนุษย์ ถ้าเป็นสัตว์กระทำให้มนุษย์เสียหายกฎหมายไม่ลงโทษสัตว์ แต่อาจลงโทษมนุษย์ผู้เป็นเจ้าของสัตว์นั้น                
3. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติของมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์จำต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ จึงจำเป็นต้องมีสภาพบังคับในกรณีที่มีการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์กฎหมายใดไม่มีสภาพบังคับ ไม่เรียกว่าเป็นกฎหมาย    สภาพบังคับ(SANCTION) ของกฎหมายคือโทษต่างๆในกฎหมาย ถ้าเป็นสภาพบังคับอาญา ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน ส่วนสภาพบังคับของกฎหมายแพ่ง ได้แก่การกำหนดให้การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายนั้นตกเป็นโมฆะหรือโมฆียะ             
 4. กฎหมายต้องมีกระบวนการบังคับที่เป็นกิจจะลักษณะ  กฎหมายมีสภาพบังคับ แต่ทั้งนี้สภาพบังคับของกฎหมายนั้นจะต้องมีกระบวนการที่แน่นอนโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในอดีตการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายบางครั้งใช้ระบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน ทำร้ายเขาตาบอด  คนถูกทำร้ายมีสิทธิทำให้ตาของคนที่ทำร้ายตาบอดได้เช่นเดียวกัน แต่ในการปกครองสมัยใหม่นี้เป็นการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจไว้ กล่าวคือรัฐเป็นศูนย์รวมอำนาจ ทั้งการออกกฎหมายก็จะออกมาจากรัฐการบังคับใช้กฎหมายก็ต้องกระทำโดยรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ รัฐสมัยใหม่จะไม่ยอมให้มีการบังคับกฎหมายโดยประชาชน เพราะจะทำให้คนที่แข็งแรงกว่าใช้กำลังบังคับคนที่อ่อนแอกว่า ซึ่งจะทำให้สังคมวุ่นวาย และเนื่องจากกฎหมายมีกระบวนการบังคับที่เป็นกิจจะลักษณะเช่นนี้จึงทำ ให้กฎหมายมีลักษณะเป็นกฎเกณฑ์ควบคุมความประพฤติของมนุษย์ซึ่งแตกต่างจากศีลธรรม ศาสนา หรือจารีตประเพณี กระบวนการบังคับใช้กฎหมายที่รวมศูนย์อยู่ที่รัฐนี้กระทำโดยผ่านองค์กรต่างๆ เช่น ตำรวจ อัยการ ศาลราชทัณฑ์ เป็นต้น
สรุป คำว่า กฎหมาย หมายถึง คำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์ ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด หรือรัฐาธิปัตย์เป็นผู้บัญญัติขึ้น ผู้ใดฝ่าฝืนมีสภาพบังคับ หรืออาจหมายถึง ระเบียบ ข้อบังคับ ที่บัญญัติไว้โดยผู้มีอำนาจสูงสุดในประเทศ เพื่อใช้บังคับความประพฤติของประชาชน ทำให้เกิดความสงบสุขในสังคม หากใครฝ่าฝืนต้องได้รับผลตามที่กฎหมายกำหนดไว้
 ลักษณะของกฎหมายจะมี 5 ประการดังนี้
              1. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ ที่อยู่ในรูปของคำสั่ง คำบัญชา ที่แสดงถึงความประสงค์ของผู้มีอำนาจในลักษณะที่บังคับ เพื่อให้บุคคลปฏิบัติหรืองดเว้น
             2. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่มาจากรัฐาธิปัตย์ (รัฐาธิปัตย์ คือ ผู้ที่ประชาชนส่วนมากยอมรับนับถือว่าเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน)
        3. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไปไม่ใช่กำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
               4. กฎหมายบัญญัติขึ้นเพื่อให้บุคคลปฏิบัติตาม
          5. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ สภาพบังคับในทางอาญาทั่วไปแล้ว คล้ายคลึงกันคือ หากเป็นโทษสูงสุดประหารชีวิต จากนั้นคือการจำคุก สภาพบังคับในทางแพ่ง เช่น การกำหนดให้การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายเป็นโมฆะ    
2.         กฎหมายโทษทางอาญาและโทษทางแพ่งแตกต่างกันอย่างไร
กฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญา มีความแตกต่างกันในสาสำคัญดังต่อไปนี้
     1. แตกต่างกันด้วยลักษณะแห่งกฎหมาย กฎหมายแพ่งเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยสิทธิ์ หน้าที และความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน ส่วนกฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน
     2. แตกต่างกันด้วยวัตถุประสงค์ของกฎหมาย กฎหมายแพ่งมีวัตถุประสงค์ในอันที่จะอำนวยและรักษาไว้ซึ่งความยุติธรรมในความสัมพันธ์ระหว่าเอกชนกับเอกชนด้วยกัน ส่วนกฎหมายอาญานั้นมีเจตนารมณ์ในทางรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองมุ่งประสงค์คุ้มครองให้ความปลอดภัยแก่สังคม
     3. แตกต่างกันด้วยการตีความ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 บัญญัติว่า การตีความกฎหมายย่อมต้องตีความตามตัวอักษร หรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัติแห่งกฎหมายถ้าไม่มีบทกฎหมายที่จะยกขึ้นปรับแก้คดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีท้องถิ่น ส่วนในกฎหมายอาญานั้นจะตีความอย่างกฎหมายแพ่งไม่ได้ หากแต่ต้องตีความโดยเคร่งครัดจะถือว่าบุคคลใดมีความผิดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด ต้องตีความตามตัวอักษรที่ปรากฏในบทบัญญัติของกฎหมายนั้นๆ โดยตรงจะมีการขยายความในบทบัญญัติแห่งกฎหมายออกไปให้ครอบคลุมไปถึงการกระทำอื่นๆ อันใกล้เคียงกับการกระทำที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าเป็นความผิดมิได้
    4. แตกต่างกันด้วยสภาพบังคับ ในกฎหมายแพ่งนั้น มีสภาพบังคับประเภทหนึ่ง คือ ถ้าหากมีการล่วงละเมิดกฎหมายแพ่ง บุคคลผู้ร่วงละเมิดไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ก็อาจะถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดเอาเงินที่ขายได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล มิฉะนั้นอาจถูกกักขังจนกว่าจะทำตามคำพิพากษาของศาลได้ ส่วนในกฎหมายอาญานั้นมีสภาพบังคับประเภทหนึ่ง คือ โทษทางอาญาซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้สำหรับความผิด ซึ่งโทษดังกล่าวมีอยู่ 5 สถานด้วยกัน คือ ประหาร จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์




ความแตกต่างในความผิดของกฎหมายทางอาญาและความผิดทางแพ่ง
     1. ความผิดทางอาญาเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหาย หวาดหวั่นแก่บุคคลทั่วไป ความผิดทางอาญาส่วนใหญ่จึงเป็นความผิดต่อแผ่นดินหรือประชาชน ส่วนความผิดทางแพ่งเป็นเรื่องระหว่างเอกชนต่อเอกชนด้วยกัน ไม่มีผลเสียหายต่อสังคมแต่อย่างใด
     2. กฎหมายอาญามีวัตถุประสงค์ลงโทษผู้กระทำผิดหากผู้กระทำผิดตายลงการลงโทษก็เป็นอันระงับลงไป ส่วนความผิดทางแพ่งเป็นเรื่องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหาย หากผู้กระทำผิดตายลงต้องมีการเรียกร้องจากกองมรดกของผู้กระทำความผิด ยกเว้นหนี้เฉพาะตัว
     3. ความผิดทางอาญาถือเจตนาเป็นใหญ่ในการกำหนดโทษ เมื่อกระทำโดยเจตนา หากทำโดยประมาทต้องดูว่ากฎหมายบัญญัติให้รับผิดชอบหรือไม่ในกรณีต่างๆ ส่วนความผิดทางแพ่งนั้นต้องรับผิดชอบทุกกรณีไม่ว่าจะเจตนาหรือประมาทก็ตาม
     4. กฎหมายอาญาต้องตีความโดยเคร่งครัด มีความผิด มีโทษที่รุนแรง ส่วนกฎหมายแพ่ง ต้องตีความตามตัวอักษรหรือเจตนารมณ์ของบัญญัติของกฎหมายนั้นๆ ดังนั้น การที่เป็นความผิดทางแพ่งนั้น ศาลอาจตีความขยายได้
     5. ความผิดทางอาญานั้น โทษจะลงแก่ตัวผู้กระทำผิด ส่วนทางกฎหมายแพ่งนั้นไม่มีโทษ เพียงถูกบังคับให้ชำระหนี้หรือชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
     6. ความผิดทางอาญาส่วนใหญ่ยอมความไม่ได้ ความผิดที่ยอมความได้เช่น หมิ่นประมาท ยักยอก เป็นต้น ส่วนความผิดทางแพ่ง ผู้เสียหายอาจยกเว้นความรับผิดได้โดยไม่นำคดีขึ้นฟ้องต่อศาล
     7. ความผิดในทางอาญา บุคคลที่ร่วมกระทำผิดอาจมีความผิดมากน้อยต่างกันตามลักษณะของการเข้าร่วม ส่วนความผิดทางแพ่ง ผู้ร่วมก่อหนี้ ร่วมกันทำละเมิด ตลอดทั้งยุยงหรือช่วยเหลือ ต้องร่วมรับผิดและชดให้ความเสียหายเหมือนกันหมด
     8. ความรับผิดทางอาญา กางลงโทษผู้กระทำผิดเพื่อบำบัดความเสียหายต่อส่วนร่วม ส่วนความรับผิดทางแพ่งต้องบำบัดความเสียหายแก่เอกชนคนหนึ่งคนใดโดยเฉพาะ
อ้างไม่รู้กฎหมาย จะอ้างเป็นข้อแก้ตัวไม่ได้ Ignorantia juris non excusat
        ความไม่รู้ทั้งหลายในที่นี้ อาจเป็นความไม่รู้กฎหมายหรือไม่รู้ข้อเท็จจริง แต่ถ้าเกิดกรณีว่า ถ้ามีคนตายและเป็นญาติของเขาซึ่งเขาไม่ทราบว่าเขามีอำนาจอย่างไรบ้างในทรัพย์สมบัติผู้ตาย ดังนี้ เรียกว่าเป็นความไม่รู้ข้อกฎหมาย ซึ่งไม่เป็นข้อแก้ตัวได้เลย โดยมีเหตุผลว่าหากยอมให้มีการแก้ตัวได้แล้ว เมื่อมีคดีขึ้นในศาลก็จำเป็นจะต้องสืบถึงความรู้และไม่รู้ในข้อกฎหมาย ทางปฏิบัตินั้นการสืบให้สิ้นสงสัยเพื่อให้เชื่อทางใดไม่ได้แน่ชัดนัก กับทั้งจะต้องสืบถึงข้อที่เขาควรได้ทราบ หรือสถิติแห่งคนนั้น การพิจารณาคดีเรื่องหนึ่งจะยาวนานเกินสมควรเป็นการยุ่งยากแก่การพิจารณาคดี กฎหมายจึงวางหลักไม่ยอมให้สืบถึงข้อไม่รู้กฎหมายเสียทีเดียว
        ในเชิงอรรถท้ายคำพิพากษาฎีกาที่ ๒๐๙/๑๒๙ มีคำอธิบายเกี่ยวกับในข้อนี้เป็นหลักว่า ... ในเรื่องเข้าใจผิดนั้นมีว่า จะยกการเข้าใจกฎหมายผิดมาแก้ตัวไม่ได้ ด้วยเหตุว่า ถ้ายอมให้แก้ตัวได้ด้วยข้อนี้แล้ว ผู้ทำผิดทุกคนคงร้องว่า ตนเข้าใจกฎหมายผิดไป หลุดโทษได้ทุกคนกฎหมายเป็นอันไม่ต้องมีกัน ต่างคนต่างทำอะไรได้ตามชอบใจ... จะยกการเข้าใจกฎหมายผิดมาแก้ตัวไม่ได้เป็นสุภาษิตกฎหมายโรมันมาแล้ว
        อย่างไรก็ตาม มีกรณีที่หากไม่ยอมรับฟังความไม่รู้กฎหมายแล้ว ก็อาจจะเป็นการไม่ยุติธรรมจนเกินไป มาตรา ๖๔ แห่งประมวลกฎหมายอาญา จึงยอมให้มีการแก้ตัวได้บ้าง เมื่อพิจารณา สภาพแห่งความผิด หมายความว่า กรณีที่เป็นความผิดเพราะกฎหมายห้าม (mala prohibita) มิใช่ความผิดในตัวเอง (mala in se) พฤติการณ์ หมายถึง กรณีเฉพาะตัวผู้กระทำความผิด เช่น คนต่างด้าวเพิ่งเดินทางเข้ามาในประเทศ ผู้ที่อยู่ห่างไกลมากไม่สามารถทราบถึงกฎหมายที่ประกาศใช้ใหม่ เมื่อพิจารณาถึงสภาพความผิดและพฤติการณ์แล้ว ศาลอาจอนุญาตให้แสดงพยานหลักฐาน และเมื่อมีการแสดงพยานหลักฐานแล้ว ถ้าศาลเชื่อความไม่รู้กฎหมายศาลอาจลดโทษให้แก่ผู้กระทำความผิดก็ได้ หรือไม่ลดโทษก็ได้ แต่ศาลจะไม่ลงโทษเลยไม่ได้
        ความไม่รู้ทั้งหลายในที่นี้ อาจเป็นความไม่รู้กฎหมายหรือไม่รู้ข้อเท็จจริง แต่ถ้าเกิดกรณีว่า ถ้ามีคนตายและเป็นญาติของเขาซึ่งเขาไม่ทราบว่าเขามีอำนาจอย่างไรบ้างในทรัพย์สมบัติผู้ตาย ดังนี้ เรียกว่าเป็นความไม่รู้ข้อกฎหมาย ซึ่งไม่เป็นข้อแก้ตัวได้เลย โดยมีเหตุผลว่าหากยอมให้มีการแก้ตัวได้แล้ว เมื่อมีคดีขึ้นในศาลก็จำเป็นจะต้องสืบถึงความรู้และไม่รู้ในข้อกฎหมาย ทางปฏิบัตินั้นการสืบให้สิ้นสงสัยเพื่อให้เชื่อทางใดไม่ได้แน่ชัดนัก กับทั้งจะต้องสืบถึงข้อที่เขาควรได้ทราบ หรือสถิติแห่งคนนั้น การพิจารณาคดีเรื่องหนึ่งจะยาวนานเกินสมควรเป็นการยุ่งยากแก่การพิจารณาคดี กฎหมายจึงวางหลักไม่ยอมให้สืบถึงข้อไม่รู้กฎหมายเสียทีเดียว
        ในเชิงอรรถท้ายคำพิพากษาฎีกาที่ ๒๐๙/๑๒๙ มีคำอธิบายเกี่ยวกับในข้อนี้เป็นหลักว่า ... ในเรื่องเข้าใจผิดนั้นมีว่า จะยกการเข้าใจกฎหมายผิดมาแก้ตัวไม่ได้ ด้วยเหตุว่า ถ้ายอมให้แก้ตัวได้ด้วยข้อนี้แล้ว ผู้ทำผิดทุกคนคงร้องว่า ตนเข้าใจกฎหมายผิดไป หลุดโทษได้ทุกคนกฎหมายเป็นอันไม่ต้องมีกัน ต่างคนต่างทำอะไรได้ตามชอบใจ... จะยกการเข้าใจกฎหมายผิดมาแก้ตัวไม่ได้เป็นสุภาษิตกฎหมายโรมันมาแล้ว”        อย่างไรก็ตาม มีกรณีที่หากไม่ยอมรับฟังความไม่รู้กฎหมายแล้ว ก็อาจจะเป็นการไม่ยุติธรรมจนเกินไป มาตรา ๖๔ แห่งประมวลกฎหมายอาญา จึงยอมให้มีการแก้ตัวได้บ้าง เมื่อพิจารณา สภาพแห่งความผิด หมายความว่า กรณีที่เป็นความผิดเพราะกฎหมายห้าม (Mala prohibita) มิใช่ความผิดในตัวเอง (mala in se) พฤติการณ์ หมายถึง กรณีเฉพาะตัวผู้กระทำความผิด เช่น คนต่างด้าวเพิ่งเดินทางเข้ามาในประเทศ ผู้ที่อยู่ห่างไกลมากไม่สามารถทราบถึงกฎหมายที่ประกาศใช้ใหม่ เมื่อพิจารณาถึงสภาพความผิดและพฤติการณ์แล้ว ศาลอาจอนุญาตให้แสดงพยานหลักฐาน และเมื่อมีการแสดงพยานหลักฐานแล้ว ถ้าศาลเชื่อความไม่รู้กฎหมายศาลอาจลดโทษให้แก่ผู้กระทำความผิดก็ได้ หรือไม่ลดโทษก็ได้ แต่ศาลจะไม่ลงโทษเลยไม่ได้
กฎหมายจะแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ
         1. กฎหมายตามเนื้อความ เป็นแบบแผนและมีกระบวนการบังคับที่เป็นกิจลักษณะ
         2. กฎหมายตามแบบพิธี เป็นกฎหมายที่จัดทำโดยออกบัญญัติกฎหมาย
ความหมายและความสำคัญของกฎหมาย
กฎหมายนั้นมีความหมายอยู่หลายประการ ซึ่งความหมายจะแปรเปลี่ยนไปตามเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น ลักษณะของสังคมที่แตกต่างกัน สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ความต้องการของประชาชนในสังคม นั้น ๆ แต่หลักที่สำคัญและเป็นความหมายของกฎหมายโดยทั่วไปจะมีอยู่ 4 ประการ คือ
1. กฎหมายต้องเป็นคำสั่ง 
2. กฎหมายถูกกำหนดขึ้นโดยผู้มีอำนาจในสังคม 
3. กฎหมายใช้บังคับและเป็นที่ทราบแก่คนทั่วไป 
4. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับแก่ผู้ฝ่าฝืน
ทฤษฎีของกฎหมาย
จากการศึกษาทฤษฎีกฎหมายจากทฤษฎีของนักกฎหมายหลายท่าน มีข้อที่แตกต่างและคล้ายคลึง พอจะสรุปผลให้เห็นได้ 2 แนวคิด ดังนี้
 1. กฎหมายนั้นมีหรือเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติอยู่แล้ว กฎหมายลักษณะแนวคิดนี้จะเกิดจาก ความรู้สึกผิดชอบของมนุษย์ ที่เกิดจากภาวะในใจที่จะไม่อยากให้ใครกดขี่ข่มเหงและก็คิดว่าตัวเองก็ ไม่ควรจะไปกดขี่ข่มเหงคนอื่นเช่นกัน
2. กฎหมายเกิดขึ้น โดยฝ่ายปกครองบ้านเมืองเป็นผู้กำหนดให้มีขึ้นลักษณะแนวคิดนี้จะเป็นการ บัญญัติให้มีขึ้นตามความต้องการของสังคมที่จะมีเหตุผลหลายประการนำมาบัญญัติเป็นกฎหมาย และผู้ที่จะสามารถออกกฎหมายได้จะต้องเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในสังคมนั้น ๆ ที่เราเรียกว่ารัฏฐาธิปัตย์ จากแนวคิดดังกล่าว กฎหมายที่เกิดขึ้นโดยฝ่ายปกครองบ้านเมืองค่อนข้างจะมีอิทธิพลมากกว่า แนวคิดแรก เพราะเป็นเรื่องที่มองเห็นได้ชัดเจน และสามารถบังคับได้แน่นอน สร้างประสิทธิภาพได้ดี ที่สุด
นอกจากแนวคิด 2 แนวที่วางหลักไว้อย่างเป็นสากลแล้ว ยังมีผู้ที่ได้พยายามให้ ความหมายทางด้าน ทฤษฎีกฎหมายหลายท่าน เช่น
1. พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระองค์ได้รับสมญาว่าพระบิดาแห่ง กฎหมายไทย ได้ทรงอธิบายไว้ว่า กฎหมายคือ คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองว่าการแผ่นดินต่อราษฎร ทั้งหลาย เมื่อไม่ทำแล้วตามธรรมดาต้องรับโทษ
2. ศาสตราจารย์หลวงจำรูญ เนติศาสตร์ได้อธิบายเอาไว้ว่า "กฎหมายได้แก่ กฎข้อบังคับว่าด้วย การปฏิบัติทั้งผู้มีอำนาจของประเทศได้บัญญัติขึ้นและบังคับให้ผู้ที่อยู่ในสังกัดของประเทศนั้นถือ ปฏิบัติตาม"
3. ศาสตราจารย์ เอกูต์ ชาวฝรั่งเศส ได้อธิบายเอาไว้ว่า "กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อห้าม ซึ่งมนุษย์ ต้องเคารพในความประพฤติต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน อันมาจากรัฏฐาธิปัตย์ หรือหมู่มนุษย์มีลักษณะ ทั่วไปใช้บังคับได้เสมอไปและจำต้องปฏิบัติตาม"

ความสำคัญของกฎหมาย
มนุษย์เป็นสัตว์สังคมอยู่ร่วมกันเป็นหมู่ เป็นเหล่า ความเจริญของสังคมมนุษย์นั้นยิ่งทำให้สังคมมีความ สลับซับซ้อน ตามสัญชาตญาณของมนุษย์แล้ว ย่อมชอบที่จะกระทำสิ่งใด ๆ ตามใจชอบ ถ้าหากไม่มีการ ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์แล้ว มนุษย์ก็จะกระทำในสิ่งที่เกินขอบเขต ยิ่งสังคมเจริญขึ้นเพียงใด วามจำเป็น ที่จะต้องมีมาตรฐานในการกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ ที่จะต้องถือว่าเป็นมาตรฐานอันเดียวกันนั้นก็ยิ่งมี มากขึ้น เพื่อใช้บังคับเป็นการทั่วไปแก่ทุกคนในลักษณะของกฎเกณฑ์และข้อบังคับต่าง ๆ ซึ่งจะกำหนด วิถีทางการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันตั้งแต่เกิดจนตาย กฎเกณฑ์และข้อบังคับหรือวิธีการควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์มีการพัฒนา และมีวิวัฒนาการต่อไป อย่างไม่หยุดยั้ง ดังนั้นเราจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่ากฎหมายไม่มีความจำเป็น และเกี่ยวข้องกับชีวิตคนเรา ในปัจจุบันนี้ กฎหมายได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตเรามาก ตั้งแต่เราเกิดก็จะต้องแจ้งเกิดเพื่อขอสูติบัตร เมื่ออายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ ก็ต้องทำบัตรประจำตัวประชาชน จะสมรสกันก็ต้องจดทะเบียนสมรสจึงจะ สมบูรณ์และในระหว่างเป็นสามี ภรรยากันกฎหมายก็ยังเข้ามาเกี่ยวข้องไปถึงวงศาคณาญาติอีกหรือจน ตายก็ต้องมีใบตาย เรียกว่าใบมรณะบัตร และก็ยังมีการจัดการมรดกซึ่งกฎหมายก็ต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง เสมอนอกจากนี้ในชีวิตประจำวันของคนเรายังมีความเกี่ยวข้องกับ ผู้อื่น เช่นไปตลาดก็มีการซื้อขายและ ต้องมี กฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องการซื้อขาย หรือการ ทำงานเป็นลูกจ้าง นายจ้างหรืออาจจะเป็น ข้าราชการก็ต้องมีกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลา และที่เกี่ยวข้องกับชาติบ้านเมืองก็เช่นกัน ประชาชนมีหน้าที่ต่อบ้านเมืองมากมาย เช่น การปฏิบัติตนตามกฎหมาย หน้าที่ในการเสียภาษีอากร หน้าที่รับราชการทหาร สำหรับชาวไทย กฎหมายต่าง ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องก็มีมากมายหลายฉบับ เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายแรงงาน กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา "คนไม่รู้ กฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัว" เป็นหลักที่ว่า บุคคลใดจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้หลุดพ้นจากความผิด ตามกฎหมายมิได้ ทั้งนี้ ถ้าหากต่างคนต่างอ้างว่าตนไม่รู้กฎหมายที่ทำไปนั้น ตนไม่รู้จริง ๆ เมื่อกล่าวอ้าง อย่างนี้คนทำผิดก็คงจะรอดตัว ไม่ต้องรับผิด ไม่ต้องรับโทษกัน ก็จะเป็นการปิดหูปิดตาไม่อยากรู้กฎหมาย และถ้าใครรู้กฎหมายก็จะต้องมีความผิด รู้มากผิดมากรู้น้อยผิดน้อย ต่จะอ้างเช่นนี้ไม่ได้เพราะถือว่าเป็น หลักเกณฑ์ของสังคมที่ประชาชนจะต้องมีความรู้ เรียนรู้กฎหมาย เพื่อขจัดข้อปัญหาการขัดแย้ง ความ ไม่เข้าใจกัน ด้วยวิธีการที่เรียกว่า กฎเกณฑ์อันเดียวกันนั้นก็คือ กฎหมาย นั่นเอง

ประโยชน์ของกฎหมาย
ประโยชน์ของกฎหมายอาจจะแบ่งออกได้เป็นหลาย ๆ ข้อ ทั้งสามารถนำเอากฎหมายมาแยกแยะ ประโยชน์ดังนี้
1. สร้างความเป็นธรรม หรือความยุติธรรมให้แก่สังคม เพราะกฎหมายเป็นหลักกติกาที่ทุกคนจะ ต้องปฏิบัติเสมอภาค เท่าเทียมกัน เมื่อการปฏิบัติของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเอาเปรียบคนอื่น ขาดความ ยุติธรรม กฎหมายก็จะเข้ามาสร้างความยุติธรรม ยุติข้อพิพาทไม่ให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบกัน ดังที่เรา เรียกกันว่า ยุติธรรม สังคมก็จะได้รับความสุขจากผลของกฎหมายในด้านนี้
2. รู้จักสิทธิหน้าที่ของตัวเองที่จะปฏิบัติต่อสังคม
3. ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ เช่น การเป็นที่ปรึกษาทางกฎหมาย การเป็น ทนายความ อัยการ ศาล ทั้งจะเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยต่างฝ่ายต่างช่วยกันรักษาความถูกต้อง ความยุติธรรม ให้เกิดขึ้นในสังคม
4. ประโยชน์ในทางการเมืองการปกครอง เพราะถ้าประชาชนรู้กฎหมายก็จะเป็นการเสริมสร้าง ความมั่นคงของการปกครอง และการบริหารงานทางการเมือง การปกครอง ประโยชน์สุขก็จะตกอยู่กับ ประชาชน
5. รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง และศีลธรรมอันดีของประชาชน เพราะกฎหมาย ที่ดีนั้นจะต้องให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนเท่าเทียมกัน ประชาชนก็จะเกิดความผาสุก ปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อครอบครัว ต่อบุคคลอื่น และต่อประเทศชาติ
คำว่า กฎหมาย ที่ทุกคนต้องรู้จัก หมายถึง คำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์ ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด หรือรัฐาธิปัตย์เป็นผู้บัญญัติขึ้น ผู้ใดฝ่าฝืนมีสภาพบังคับ หรืออาจหมายถึง ระเบียบ ข้อบังคับ ที่บัญญัติไว้โดยผู้มีอำนาจสูงสุดในประเทศ เพื่อใช้บังคับความประพฤติของประชาชน ทำให้เกิดความสงบสุขในสังคม หากใครฝ่าฝืนต้องได้รับผลตามที่กฎหมายกำหนดไว้



กฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญาแตกต่างกันอย่างไร
-                  กฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญา มีความแตกต่างกันในสาสำคัญดังต่อไปนี้
     1. แตกต่างกันด้วยลักษณะแห่งกฎหมาย กฎหมายแพ่งเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยสิทธิ์ หน้าที และความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน ส่วนกฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน
     2. แตกต่างกันด้วยวัตถุประสงค์ของกฎหมาย กฎหมายแพ่งมีวัตถุประสงค์ในอันที่จะอำนวยและรักษาไว้ซึ่งความยุติธรรมในความสัมพันธ์ระหว่าเอกชนกับเอกชนด้วยกัน ส่วนกฎหมายอาญานั้นมีเจตนารมณ์ในทางรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองมุ่งประสงค์คุ้มครองให้ความปลอดภัยแก่สังคม
     3. แตกต่างกันด้วยการตีความ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 บัญญัติว่า การตีความกฎหมายย่อมต้องตีความตามตัวอักษร หรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัติแห่งกฎหมายถ้าไม่มีบทกฎหมายที่จะยกขึ้นปรับแก้คดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีท้องถิ่น ส่วนในกฎหมายอาญานั้นจะตีความอย่างกฎหมายแพ่งไม่ได้ หากแต่ต้องตีความโดยเคร่งครัดจะถือว่าบุคคลใดมีความผิดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด ต้องตีความตามตัวอักษรที่ปรากฏในบทบัญญัติของกฎหมายนั้นๆ โดยตรงจะมีการขยายความในบทบัญญัติแห่งกฎหมายออกไปให้ครอบคลุมไปถึงการกระทำอื่นๆ อันใกล้เคียงกับการกระทำที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าเป็นความผิดมิได้
    4. แตกต่างกันด้วยสภาพบังคับ ในกฎหมายแพ่งนั้น มีสภาพบังคับประเภทหนึ่ง คือ ถ้าหากมีการล่วงละเมิดกฎหมายแพ่ง บุคคลผู้ร่วงละเมิดไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ก็อาจะถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดเอาเงินที่ขายได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล มิฉะนั้นอาจถูกกักขังจนกว่าจะทำตามคำพิพากษาของศาลได้ ส่วนในกฎหมายอาญานั้นมีสภาพบังคับประเภทหนึ่ง คือ โทษทางอาญาซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้สำหรับความผิด ซึ่งโทษดังกล่าวมีอยู่ 5 สถานด้วยกัน คือ ประหาร จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์
ความแตกต่างในความผิดของกฎหมายทางอาญาและความผิดทางแพ่ง
     1. ความผิดทางอาญาเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหาย หวาดหวั่นแก่บุคคลทั่วไป ความผิดทางอาญาส่วนใหญ่จึงเป็นความผิดต่อแผ่นดินหรือประชาชน ส่วนความผิดทางแพ่งเป็นเรื่องระหว่างเอกชนต่อเอกชนด้วยกัน ไม่มีผลเสียหายต่อสังคมแต่อย่างใด
     2. กฎหมายอาญามีวัตถุประสงค์ลงโทษผู้กระทำผิดหากผู้กระทำผิดตายลงการลงโทษก็เป็นอันระงับลงไป ส่วนความผิดทางแพ่งเป็นเรื่องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหาย หากผู้กระทำผิดตายลงต้องมีการเรียกร้องจากกองมรดกของผู้กระทำความผิด ยกเว้นหนี้เฉพาะตัว
     3. ความผิดทางอาญาถือเจตนาเป็นใหญ่ในการกำหนดโทษ เมื่อกระทำโดยเจตนา หากทำโดยประมาทต้องดูว่ากฎหมายบัญญัติให้รับผิดชอบหรือไม่ในกรณีต่างๆ ส่วนความผิดทางแพ่งนั้นต้องรับผิดชอบทุกกรณีไม่ว่าจะเจตนาหรือประมาทก็ตาม
     4. กฎหมายอาญาต้องตีความโดยเคร่งครัด มีความผิด มีโทษที่รุนแรง ส่วนกฎหมายแพ่ง ต้องตีความตามตัวอักษรหรือเจตนารมณ์ของบัญญัติของกฎหมายนั้นๆ ดังนั้น การที่เป็นความผิดทางแพ่งนั้น ศาลอาจตีความขยายได้
     5. ความผิดทางอาญานั้น โทษจะลงแก่ตัวผู้กระทำผิด ส่วนทางกฎหมายแพ่งนั้นไม่มีโทษ เพียงถูกบังคับให้ชำระหนี้หรือชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
     6. ความผิดทางอาญาส่วนใหญ่ยอมความไม่ได้ ความผิดที่ยอมความได้เช่น หมิ่นประมาท ยักยอก เป็นต้น ส่วนความผิดทางแพ่ง ผู้เสียหายอาจยกเว้นความรับผิดได้โดยไม่นำคดีขึ้นฟ้องต่อศาล
     7. ความผิดในทางอาญา บุคคลที่ร่วมกระทำผิดอาจมีความผิดมากน้อยต่างกันตามลักษณะของการเข้าร่วม ส่วนความผิดทางแพ่ง ผู้ร่วมก่อหนี้ ร่วมกันทำละเมิด ตลอดทั้งยุยงหรือช่วยเหลือ ต้องร่วมรับผิดและชดให้ความเสียหายเหมือนกันหมด
     8. ความรับผิดทางอาญา กางลงโทษผู้กระทำผิดเพื่อบำบัดความเสียหายต่อส่วนร่วม ส่วนความรับผิดทางแพ่งต้องบำบัดความเสียหายแก่เอกชนคนหนึ่งคนใดโดยเฉพาะ
 Cr: รวบรวมค้นคว้าโดย    ร.ต.ต. สุขสวัสดิ์  มณีโชติ     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น